อาขยาต
ชีทประกอบการศึกษา:
1) แบบอาขยาต
2) แผนผังวาจก
3) ธาตุลงปัจจัย เป็นฐาน (base) สำหรับลงวิภัตติประกอบเป็นกิริยา
pdf หน้าเว็บ
กิริยาอาขยาต
มีส่วนประกอบ 8 อย่าง คือ ธาตุ ปัจจัย วาจก
วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ
ส่วนประกอบเหล่านี้
ที่นำมาประกอบเป็นรูปกิริยา มี 3 อย่าง คือ
1.
ธาตุ (root) บอกให้รู้
ความหมายของกิริยา
2.
ปัจจัย (suffix) บอกให้รู้
วาจก
3.
วิภัตติ (declension) บอกให้ รู้ กาล บท วจนะ บุรุษ
วทฺ
+ อ +
ติ
= วทติ
ธาตุ ปัจจัย วิภัตติ
| | |
อรรถ วาจก กาล-บท-วจนะ-บุรุษ
ธาตุ ปัจจัย วิภัตติ
| | |
อรรถ วาจก กาล-บท-วจนะ-บุรุษ
ธาตุ
ธาตุ คือ
รากศัพท์ (root) ของกิริยา* ธาตุบอกอรรถ** คือความหมายของกิริยานั้น
* ธาตุ คือ รากศัพท์ ของกิริยาศัพท์ และนามศัพท์
(นามศัพท์ที่สำเร็จมาจากธาตุ)
** เช่น คม ธาตุในความไป, เดิน ก็คือ คม ธาตุ แปลว่า/มีความหมายว่า ไป, เดิน นั่นเอง
** เช่น คม ธาตุในความไป, เดิน ก็คือ คม ธาตุ แปลว่า/มีความหมายว่า ไป, เดิน นั่นเอง
ธาตุ เมื่อลงปัจจัย
(อาขยาต) ลงวิภัตติ (อาขยาต) แล้ว สำเร็จเป็นกิริยาอาขยาต จึงนำไปใช้ในประโยคได้
ธาตุจัดเป็น 8 หมวด ตามที่ประกอบด้วยปัจจัยตัวเดียวกัน
คือ
1.
หมวด ภู
ธาตุ
ลง อ
(เอ)1 ปัจจัย
2.
หมวด รุธ
ธาตุ
ลง อ
(เอ)2 ปัจจัย
และลงนิคคหิตอาคม หน้าพยัญชนะที่สุดธาตุ
3.
หมวด ทิว
ธาตุ
ลง ย
ปัจจัย
4.
หมวด สุ
ธาตุ
ลง ณุ
ณา ปัจจัย
5.
หมวด กี
ธาตุ
ลง นา
ปัจจัย
6.
หมวด คห
ธาตุ
ลง ณฺหา ปัจจัย
7.
หมวด ตน
ธาตุ
ลง โอ ปัจจัย
8.
หมวด จุร
ธาตุ
ลง เณ
ณย ปัจจัย
(ภู รุ ทิ สุ กี ค ต จุ) (อ เอ ย ณุ ณา นา ณฺหา โอ เณ ณย)
(ภู รุ ทิ สุ กี ค ต จุ) (อ เอ ย ณุ ณา นา ณฺหา โอ เณ ณย)
1 แปลง อ
เป็น เอ 2 ลง เอ เฉพาะ รุธ
ธาตุ?
ธาตุแบ่งเป็น 2
ประเภท คือ
1. สกัมมธาตุ ธาตุเรียกหากรรม (คือ สิ่งที่ถูกทำ)
2. อกัมมธาตุ ธาตุไม่เรียกหากรรม
(สกัมมกิริยา กิริยาที่เรียกหากรรม
อกัมมกิริยา กิริยาที่ไม่เรียกหากรรม)
1. สกัมมธาตุ ธาตุเรียกหากรรม (คือ สิ่งที่ถูกทำ)
2. อกัมมธาตุ ธาตุไม่เรียกหากรรม
(สกัมมกิริยา กิริยาที่เรียกหากรรม
อกัมมกิริยา กิริยาที่ไม่เรียกหากรรม)
การเปลี่ยนแปลงสระของธาตุ
1.
ธาตุพยางค์เดียว มีสระ อิ อี เป็นที่สุด แปลง อิ อี เป็น เอ บ้าง
แล้วแปลง เอ เป็น อย
ต่อไปบ้าง เช่น เป็น เส และเป็น สย,
กี เป็น เก
และเป็น กย
2.
ธาตุพยางค์เดียว มีสระ อุ อู เป็นที่สุด แปลง อุ อู เป็น โอ
บ้าง แล้วแปลง โอ เป็น อว ต่อไปบ้าง
เช่น เป็น โภ และเป็น ภว, หุ
เป็น โห
3.
ธาตุสองพยางค์ สระต้นธาตุเป็น อิ อี แปลง อิ อี เป็น เอ
บ้าง เช่น ภิท เป็น เภท ลิป เป็น เลป
4.
ธาตุสองพยางค์ สระต้นธาตุเป็น อุ อู
แปลง อุ อู เป็น โอ
บ้าง เช่น รุธ เป็น โรธ ภุช เป็น โภช
วิภัตติ
(declension)
วิภัตติอาขยาต
แบ่งเป็น 8 หมวด คือ
1.
วตฺตมานา บอกปัจจุบันกาล ปัจจุบันแท้-ปัจจุบันใกล้อดีต-ปัจจุบันใกล้อนาคต
2.
ปญฺจมี บอกความบังคับ ความหวัง ความอ้อนวอน
3.
สตฺตมี บอกความยอมตาม ความกำหนด ความรำพึง
4.
ปโรกฺขา บอกอดีตกาล ล่วงแล้วไม่มีกำหนด
5.
หิยตฺตนี บอกอดีตกาล ล่วงแล้ววานนี้
6.
อชฺชตฺตนี บอกอดีตกาล ล่วงแล้ววันนี้
7.
ภวิสฺสนฺติ บอกอนาคตกาล ของปัจจุบัน
8.
กาลาติปตฺติ บอกอนาคตกาล ของอดีต
ในหมวดหนึ่งๆ
มีวิภัตติ 12 ตัว คือ ฝ่ายปรัสสบท 6 และอัตตโนบท 6 มี 2 วจนะ
มีบุรุษ 3 คือ ปฐมบุรุษ มัชฌิมบุรุษ และ อุตตมบุรุษ
รวมทั้งหมดมีวิภัตติ 96 ตัว
มีบุรุษ 3 คือ ปฐมบุรุษ มัชฌิมบุรุษ และ อุตตมบุรุษ
รวมทั้งหมดมีวิภัตติ 96 ตัว
1.
วตฺตมานา
ปัจจุบันกาล (อยู่, ย่อม, จะ) |
|||||
|
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
|||
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
|
ป.
ม. อุ. |
ติ
สิ มิ |
อนฺติ
ถ ม |
เต
เส เอ |
อนฺเต
วฺเห มฺเห |
|
2.
ปญฺจมี
บังคับ, หวัง, อ้อนวอน (จง, เถิด, ขอจง) |
|||||
ป.
ม. อุ. |
ตุ
หิ มิ |
อนฺตุ
ถ ม |
ตํ
สฺสุ เอ |
อนฺตํ
วโห อามฺหเส |
|
3.
สตฺตมี
ยอมตาม, กำหนด, รำพึง (ควร, พึง, พึง) |
|||||
ป.
ม. อุ. |
เอยฺย
เอถ เอ
เอยฺยาสิ เอยฺยามิ |
เอยฺยุํ
เอยฺยาถ เอยฺยาม |
เอถ
เอโถ เอยฺยํ |
เอรํ
เอยฺยวฺโห เอยฺยามฺเห |
|
4.
ปโรกฺขา
อดีตกาล (แล้ว) |
|||||
ป.
ม. อุ. |
อ
เอ อํ |
อุ
ตฺถ มฺห |
ตฺถ
ตฺโถ อึ |
เร
วฺโห มฺเห |
|
5.
หิยตฺตนี
อดีตกาล (‘แล้ว’ ถ้ามี อ นำหน้า ‘ได้...แล้ว’) |
|||||
ป.
ม. อุ. |
อา
โอ อํ |
อู
ตฺถ มฺห |
ตฺถ
เส อึ |
ตฺถุํ
วฺหํ มฺหเส |
|
6.
อชฺชตฺตนี
อดีตกาล (‘แล้ว’ ถ้ามี อ นำหน้า ‘ได้...แล้ว’) |
|||||
ป.
ม. อุ. |
อี
โอ อี อึ |
อุํ อึสุ
อํสุ
ิตฺถ ิมฺหา |
อา
เส อํ |
อู
วฺหํ มฺเห |
|
7.
ภวิสฺสนฺติ
อนาคตกาล (จัก) |
|||||
ป.
ม. อุ. |
ิสฺสติ
ิสฺสสิ ิสฺสามิ |
ิสฺสนฺติ
ิสฺสถ ิสฺสาม |
สฺสเต
สฺสเส สฺสํ |
สฺสนฺเต
สฺสวฺเห สฺสามฺเห |
|
8.
กาลาติปตฺติ
อนาคตกาลของอดีต (‘จัก...แล้ว ’ ถ้า มี อ นำหน้า ‘จักได้..แล้ว’) |
|||||
ป.
ม. อุ. |
ิสฺสา
ิสฺเส ิสฺสํ |
ิสฺสํสุ
ิสฺสถ ิสฺสามฺหา |
สฺสถ
สฺสเส สฺสํ |
สฺสึสุ
สฺสวฺเห สฺสามฺหเส |
|
* ใช้วิภัตติฝ่ายปรัสสบทเป็นหลัก
ฝ่ายอัตตโนบทใช้น้อย
* วิภัตติที่ขีดเส้นใต้ คือ ใช้แทนวิภัตติฝ่ายปรัสสบทในตำแหน่งที่ตรงกันได้
* วิภัตติที่ขีดเส้นใต้ คือ ใช้แทนวิภัตติฝ่ายปรัสสบทในตำแหน่งที่ตรงกันได้
วิภัตตินาม กับ วิภัตติอาขยาต ต่างกัน
วิภัตตินาม
ใช้แจกนามศัพท์ บอกให้รู้ ลิงค์ วจนะ การันต์ และ อายตนิบาต
วิภัตติอาขยาต ใช้ลงท้ายธาตุ บอกให้รู้ กาล บท วจนะ บุรุษ
วิภัตติอาขยาต ใช้ลงท้ายธาตุ บอกให้รู้ กาล บท วจนะ บุรุษ
การแจกวิภัตตินาม และ อาขยาต
วิภัตตินาม ลงท้ายนามศัพท์ แจกตามลิงค์ และ การันต์ ของนามนั้น
วิภัตติอาขยาต ลงท้ายธาตุ แจกตามบุรุษ และ วจนะ ของนามที่เป็นประธาน
วิภัตตินาม ลงท้ายนามศัพท์ แจกตามลิงค์ และ การันต์ ของนามนั้น
วิภัตติอาขยาต ลงท้ายธาตุ แจกตามบุรุษ และ วจนะ ของนามที่เป็นประธาน
ในวิภัตติ 8 หมวดนั้น เมื่อประกอบกับธาตุแล้ว
บางตัวเปลี่ยนรูปไป ดังนี้
วตฺตมานา
1.
ติ: ใช้ เต
แทนบ้าง เช่น ชายเต
ย่อมเกิด
2.
อนฺติ: 1) ใช้
อนฺเต แทนบ้าง เช่น ปุจฺฉนฺเต
ย่อมถาม
2) แปลงเป็น เร* เช่น วุจฺจเร ย่อมกล่าว, โสจเร ย่อมเศร้าโศก
2) แปลงเป็น เร* เช่น วุจฺจเร ย่อมกล่าว, โสจเร ย่อมเศร้าโศก
3.
มิ ม: ทีฆะ อ
ที่สุดธาตุ เป็น อา เช่น วทามิ
วทาม
(หลักการแปลง
อนฺติ เป็น เร: 1. ข้างหน้า อนฺติ ต้องเป็นรัสสะ 2. หน้ารัสสะเป็นทีฆะหรือสังโยค.
เทียบมาตราเสียง: วุจฺจนฺติ _ _ . กับ วุจฺจเร _ . _ ใช้ในการแต่งฉันท์ ให้เสียงลงครุลหุได้ง่ายขึ้น)
เทียบมาตราเสียง: วุจฺจนฺติ _ _ . กับ วุจฺจเร _ . _ ใช้ในการแต่งฉันท์ ให้เสียงลงครุลหุได้ง่ายขึ้น)
ปญฺจมี
1.
ตุ: ใช้ ตํ
แทนบ้าง เช่น ชยตํ จงชนะ
2.
หิ มิ ม: หิ มิ ม
อยู่หลัง ทีฆะที่สุดธาตุ เช่น
คจฺฉาหิ จงไป
3.
หิ: 1) ลบ หิ
บ้างก็ได้ แต่ลบแล้วไม่ต้องทีฆะที่สุดธาตุ เช่น
คจฺฉ จงไป
2) ใช้ สฺสุ แทนบ้าง เช่น กรสฺสุ จงทำ
2) ใช้ สฺสุ แทนบ้าง เช่น กรสฺสุ จงทำ
สตฺตมี
1.
เอยฺย: 1) ลบ ยฺย เหลือ เอ
เช่น กเร พึงทำ
2) ใช้ เอถ แทนบ้าง เช่น ลเภถ พึงได้
3) แปลงเป็น อา บ้าง เช่น กยิรา พึงทำ
2) ใช้ เอถ แทนบ้าง เช่น ลเภถ พึงได้
3) แปลงเป็น อา บ้าง เช่น กยิรา พึงทำ
2.
เอยฺยามิ: ใช้ เอยฺยํ
แทน เช่น ลเภยฺยํ
พึงได้
ปโรกฺขา
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
หิยตฺตนี
1.
ลง อ อาคมที่ต้นธาตุเสมอ
2.
อา: รัสสะ อา เป็น อ บ้าง เช่น อโวจ ได้กล่าวแล้ว
อชฺชตฺตนี
1.
อี: รัสสะ อี เป็น อิ เช่น กริ ทำแล้ว
2.
อุํ: 1) มักแปลงเป็น
อึสุ และแปลงเป็น อํสุ บ้าง เช่น อกํสุ อกรึสุ
ได้ทำแล้ว
2) มักลง ส อาคม เช่น อกาสุํ ได้ทำแล้ว
2) มักลง ส อาคม เช่น อกาสุํ ได้ทำแล้ว
3.
โอ: ใช้ อี แทน
(และรัสสะเป็น อิ)
ภวิสฺสนฺติ
1.
ลง อิ อาคมหลังธาตุทั้งหมด
2.
สฺสามิ: ใช้ สฺสํ แทนบ้าง
3.
ธาตุบางตัว เมื่อลงวิภัตติหมวดภวิสสันติแล้ว
ให้ลบ สฺส
แล้วแปลงตัวธาตุไปบ้าง ดังนี้
วจ
-กล่าว แปลงเป็น วกฺข
วกฺขติ = วจิสฺสติ จักกล่าว
ลภ -ได้ แปลงเป็น ลจฺฉ ลจฺฉติ = ลภิสฺสติ จักได้
ทิส -เห็น แปลงเป็น ทกฺข ทกฺขติ = ปสฺสิสฺสติ จักเห็น
กร -ทำ แปลงเป็น กาห กาหติ = กริสฺสติ จักทำ
วส -อยู่ แปลงเป็น วจฺฉ วจฺฉติ = วสิสฺสติ จักอยู่
ลภ -ได้ แปลงเป็น ลจฺฉ ลจฺฉติ = ลภิสฺสติ จักได้
ทิส -เห็น แปลงเป็น ทกฺข ทกฺขติ = ปสฺสิสฺสติ จักเห็น
กร -ทำ แปลงเป็น กาห กาหติ = กริสฺสติ จักทำ
วส -อยู่ แปลงเป็น วจฺฉ วจฺฉติ = วสิสฺสติ จักอยู่
กาลาติปตฺติ
1.
ลง อ อาคมต้นธาตุ ลง อิ อาคมหลังธาตุ เช่น อกริสฺสา
2.
สฺสา: มักรัสสะ เป็น สฺส เช่น อกริสฺส
ความนิยมใช้วิภัตติอาขยาตแต่ละหมวด
1.
ปโรกฺขา ไม่นิยมใช้เลย
คงใช้เฉพาะปฐมบุรุษ อ อุ เท่านั้น
2.
หิยตฺตนี และ กาลาติปตฺติ มีใช้น้อย
3.
อชฺชตฺตนี ใช้มากที่สุด
รองลงมาคือ วตฺตมานา ปฺจมี สตฺตมี อชฺชตฺตนี ภวิสฺสนฺติ
ประโยคแสดงปัจจุบันกาล
|
Present
tense
|
วัตตมานา
(อยู่ ย่อม จะ)
|
ประโยคแสดงอดีตกาล
|
Past
tense
|
อัชชัตตนี, หิยัตตนี,
ปโรกขา (แล้ว)
|
ประโยคแสดงอนาคตกาล
|
Future
tense
|
ภวิสสันติ
(จัก)
|
ประโยคที่กล่าวตรงข้ามกับความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต
|
Unreal
condition
|
กาลาติปัตติ
(จัก...แล้ว)
|
ประโยคคำสั่ง
บังคับ ขอร้อง
|
Imperative
tense
|
ปัญจมี
(จง, เถิด, ขอจง)
|
ประโยคแนะนำ
|
Advice
|
สัตตมี
(ควร,
พึง)
|
กาล
กาล คือ เวลา หมายถึง
เวลาที่ทำกิริยานั้นๆ
กาล โดยย่อมี 3
คือ
1.
ปัจจุบันกาล คือ
กาลที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
2.
อดีตกาล คือ
กาลที่ล่วงแล้ว
3.
อนาคตกาล คือ
กาลที่ยังไม่มาถึง
กาลทั้ง 3 นี้ แบ่งให้ละเอียดออกไปอีก
ใช้วิภัตติ 8 หมวดเป็นเครื่องหมาย
ดังนี้
ปัจจุบันกาล แบ่งเป็น 3 คือ
1.
ปัจจุบันแท้ แปลว่า อยู่ เช่น ภิกฺขุ ธมฺมํ เทเสติ. ภิกษุ แสดงอยู่ ซึ่งธรรม.
2.
ปัจจุบันใกล้อดีต แปลว่า ย่อม
เช่น
กุโต นุ ตฺวํ อาคจฺฉสิ. ท่าน ย่อมมา
แต่ที่ไหน หนอ.
3.
ปัจจุบันใกล้อนาคต แปลว่า จะ
เช่น กึ กโรมิ. ผม จะทำ ซึ่งอะไร.
ปัจจุบันกาลนี้
บอกให้รู้ด้วย วัตตมานาวิภัตติ
อดีตกาล แบ่งเป็น
3 คือ
1.
ล่วงแล้วไม่มีกำหนด แปลว่า แล้ว บอกให้รู้ด้วย
ปโรกขาวิภัตติ เช่น
- เตนาห ภควา.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้ว.
- เตนาหุ โปราณา.
ด้วยเหตุนั้น พระอาจารย์มีในปางก่อน ท. กล่าวแล้ว.
2.
ล่วงแล้ววานนี้ แปลว่า แล้ว ถ้ามี อ นำหน้า
แปลว่า ได้แล้ว บอกให้รู้ด้วย หิยัตตนีวิภัตติ เช่น
- ขโณ โว มา อุปจฺจคา. ขณะ อย่าได้เข้าไปล่วงแล้ว
ซึ่งท่าน ท.
- อหํ เอวํ อวจํ. เรา ได้กล่าวแล้ว
อย่างนี้.
3.
ล่วงแล้ววันนี้ แปลว่า แล้ว ถ้ามี อ นำหน้า
แปลว่า ได้แล้ว บอกให้รู้ด้วย อัชชัตตนีวิภัตติ เช่น
- เถโร คามํ
ปิณฺฑาย ปาวิสิ. พระเถระ ได้เข้าไปแล้ว
สู่บ้าน เพื่อบิณฑะ
- เอวรูปํ กมฺมํ อกาสึ. ผม ได้ทำแล้ว
ซึ่งกรรม มีอย่างนี้เป็นรูป.
อนาคตกาล แบ่งเป็น
2 คือ
1.
อนาคตของปัจจุบัน แปลว่า จัก บอกให้รู้ด้วย
ภวิสสันติวิภัตติ เช่น
- ธมฺมํ
สุณิสฺสาม. เรา ท. จักฟัง ซึ่งธรรม.
2.
อนาคตของอดีต แปลว่า จัก...แล้ว ถ้ามี อ
นำหน้า แปลว่า จักได้...แล้ว บอกให้รู้ด้วย กาลาติปัตติวิภัตติ เช่น
- โส เจ ยานํ
อลภิสฺสา,
อคจฺฉิสฺสา. ถ้าว่า เขา
จักได้ได้แล้ว
ซึ่งยาน ไซร้, เขา จักได้ไปแล้ว.
ปัญจมีวิภัตติ และ
สัตตมีวิภัตติ ไม่บอกกาลอะไร แต่สงเคราะห์เข้าในปัจจุบันกาล
ปัญจมีวิภัตติ
- บอกความบังคับ
แปลว่า จง เช่น เอวํ วเทหิ. เจ้า จงกล่าว
อย่างนี้.
- บอกความหวัง
แปลว่า เถิด เช่น สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ. สัตว์ ท. ทั้งปวง เป็นผู้มีเวรหามิได้ เถิด.
- บอกความอ้อนวอน
แปลว่า ขอ...จง เช่น
ปพฺพาเชถ มํ ภนฺเต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่าน ท.
ขอจงยังข้าพเจ้า ให้บวช.
สัตตมีวิภัตติ
- บอกความยอมตาม
แปลว่า ควร เช่น ภเชถ ปุริสุตฺตเม. ชน ควรคบ
ซึ่งบุรุษสูงสุด ท.
- บอกความกำหนด
แปลว่า พึง เช่น ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา. ถ้าว่า บุรุษ พึงทำ ซึ่งบุญ
ไซร้.
- บอกความรำพึง
แปลว่า พึง เช่น ยนฺนูนาหํ ปพฺพเชยฺยํ. ไฉนหนอ เรา พึงบวช.
บท
บท แบ่งเป็น 2 คือ
1. ปรัสสบท บทเพื่อผู้อื่น
กิริยาอาขยาตที่ประกอบด้วยวิภัตติบทนี้ เป็นกิริยาของประธาน ที่ส่งผลแก่ผู้อื่น
เช่น
- ชโน กุมารํ
ปหรติ - ชน ตี เด็ก ชโน เป็นประธานของกิริยาตี คือ ปหรติ ส่งผลต่อเด็ก คือ
กุมารํ
2. อัตตโนบท บทเพื่อตน
กิริยาอาขยาตที่ประกอบด้วยวิภัตติบทนี้ เป็นกิริยาของประธาน ที่ส่งผลต่อประธานเอง
เช่น
- ชเนน กุมาโร
ปหริยเต - เด็ก อันชน ตี กุมาโร เป็นประธานของกิริยาตี คือ ปหริยเต
ซึ่งส่งผลต่อประธาน คือตัวเด็กเอง
ปรัสสบท
เป็นเครื่องหมาย กัตตุวาจก และ เหตุกัตตุวาจก
อัตตโนบท เป็นเครื่องหมาย กัมมวาจก ภาววาจก และ เหตุกัมมวาจก
อัตตโนบท เป็นเครื่องหมาย กัมมวาจก ภาววาจก และ เหตุกัมมวาจก
แต่บทในกิริยาอาขยาตนั้น
ใช้เป็นเครื่องหมายวาจกไม่ได้แน่นอนเหมือนปัจจัย เพราะใช้ปรัสสบทแทนอัตตโนบทใช้ในประโยคกัมมวาจกก็มี
ใช้อัตตโนบทแทนปรัสสบทในประโยคกัตตุวาจกก็มี
วจนะ
วจนะนาม กับ
วจนะอาขยาต ต่างกัน
วจนะในกิริยาอาขยาต แบ่งเป็น 2 คือ เอกวจนะ และพหุวจนะ เช่นเดียวกับวจนะของนามศัพท์
วจนะในกิริยาอาขยาต แบ่งเป็น 2 คือ เอกวจนะ และพหุวจนะ เช่นเดียวกับวจนะของนามศัพท์
วจนะนาม ใช้ประกอบนาม
บอกให้รู้ว่า นามนั้น มีจำนวน หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง
วจนะอาขยาต ใช้ประกอบกิริยา ให้ตรงกับวจนะของประธาน จึงทำให้รู้ว่า ประธานในประโยคนั้นๆ เป็น เอกวจนะ หรือพหุวจนะ
วจนะอาขยาต ใช้ประกอบกิริยา ให้ตรงกับวจนะของประธาน จึงทำให้รู้ว่า ประธานในประโยคนั้นๆ เป็น เอกวจนะ หรือพหุวจนะ
วจนะอาขยาตนี้
ประธานเป็นวจนะใด กิริยาอาขยาตต้องเป็นวจนะเดียวกัน เช่น
โส
คจฺฉติ. เขา จะไป.
เต คจฺฉนฺติ. เขา ท. จะไป.
เต คจฺฉนฺติ. เขา ท. จะไป.
ถ้าในประโยคนั้น
ประธาน มีหลายศัพท์ และกล่าวรวมกัน ด้วย จ ศัพท์ (แปลว่า
‘ด้วย, และ’) ในประโยคเช่นนั้น
ต้องประกอบกิริยาให้เป็นพหุวจนะเสมอ (ไม่ว่าประธานเหล่านั้นจะเป็นวจนะอะไร)
- อุปาสโก จ
อุปาสิกา จ อารามํ คจฺฉนฺติ. อุบาสก ด้วย อุบาสิกา ด้วย จะไป สู่วัด.
แต่ถ้าประธานมีหลายศัพท์
และเป็นเอกวจนะทั้งหมด กล่าวแยกกัน ด้วย วา ศัพท์ (แปลว่า ‘หรือ’)
ให้ประกอบกิริยาเป็นเอกวจนะตามปกติ
- อุปาสโก วา
อุปาสิกา วา อารามํ คจฺฉติ. อุบาสก หรือ หรือว่า อุบาสิกา จะไป สู่วัด.
บุรุษ
ในอาขยาต จัดบุรุษเป็น
3 เหมือนสัพพนาม คือ ปฐมบุรุษ มัชฌิมบุรุษ และ อุตตมบุรุษ
1.
ปฐมบุรุษ ใช้ นามนาม หรือ
ปุริสสัพพนาม คือ ต ศัพท์
เป็นประธาน
2.
มัชฌิมบุรุษ ใช้ ปุริสสัพพนาม คือ
ตุมฺห ศัพท์
เป็นประธาน
3.
อุตตมบุรุษ ใช้ ปุริสสัพพนาม คือ
อมฺห ศัพท์
เป็นประธาน
วิภัตติอาขยาต
ต้องแจกให้ตรงกับ บุรุษ และ วจนะ ของประธาน ดังนี้
|
เอกวจนะ
|
|
พหุวจนะ
|
|
ปฐมบุรุษ
|
ชโน, โส,
สา, ตํ
|
ยาติ
|
ชนา, เต,
ตา, ตานิ
|
ยนฺติ
|
มัชฌิมบุรุษ
|
ตฺวํ
|
ยาสิ
|
ตุมฺเห
|
ยาถ
|
อุตตมบุรุษ
|
อหํ
|
ยามิ
|
มยํ
|
ยาม
|
สำหรับปุริสสัพพนามที่เป็นประธาน
จะละไว้ เขียนไว้แต่กิริยาอาขยาต (ที่บอกบุรุษและวจนะ) ก็ได้ เช่น
- (ตฺวํ)
เอวํ วเทหิ. (เจ้า) จงกล่าว อย่างนี้
- (ตุมฺเห)
คจฺฉถ ภนฺเต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (ท่าน ท.)
ไปเถิด
- (ตฺวํ)
อตฺตโน ปมาณํ น ชานาสิ. (เจ้า) ย่อมไม่รู้
ซึ่งประมาณ ของตน
การใช้บุรุษและวจนะ แสดงความเคารพ
ถ้าผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่
แม้ผู้ใหญ่นั้นจะเป็นบุคคลๆ เดียว ก็ใช้วิภัตติอาขยาต มัชฌิมบุรุษ พหุวจนะได้
เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ เช่น ภิกษุกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า
- (ตุมฺเห)
ธมฺมํ เทเสถ ภนฺเต.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ขอจงแสดง ซึ่งธรรม. (กรณีแบบนี้ มติบาลีสนามหลวง แปลไม่ออก
ท.)
ประธาน มีหลายศัพท์ กล่าวรวมกัน ด้วย
จ ศัพท์ ต้องประกอบกิริยาให้เป็นพหุวจนะเสมอ และประกอบบุรุษของกิริยาอาขยาต ตามบุรุษที่อยู่ในลำดับท้ายสุด
เรียงตามลำดับดังนี้ 1) ปฐมบุรุษ 2) มัชฌิมบุรุษ
3) อุตตมบุรุษ เช่น
- อหเมว ตวญฺจ
ชานาม.
ในประโยคนี้มี มัชฌิมบุรุษและอุตตมบุรุษ
จึงประกอบกิริยาเป็นอุตตมบุรุษ คือ ชานาม
ปัจจัย
ปัจจัยแบ่งเป็น 5
หมวด ตามวาจก ดังนี้
- กัตตุวาจก
ลงปัจจัย
10
ตัว คือ อ
เอ ย ณุ ณา นา ณฺหา โอ เณ ณย
- กัมมวาจก
ลง
ย ปัจจัย
กับ อิ อาคมหน้า
ย
- ภาววาจก
ลง ย ปัจจัย (และ
เต วัตตมานา)
- เหตุกัตตุวาจก
ลงปัจจัย
4 ตัว คือ เณ
ณย ณาเป ณาปย
- เหตุกัมมวาจก
ลงปัจจัย
10 ตัวนั้นด้วย
ลงเหตุปัจจัยคือ ณาเป
ด้วย ลง
ย ปัจจัยกับทั้ง อิ
อาคม หน้า ย ด้วย (มีรูปเป็น -าปิย)
การลงปัจจัยหลังธาตุ ตามวาจกทั้ง 5
กัตตุวาจก ลงปัจจัย
10 ตัว คือ อ เอ ย ณุ ณา นา ณฺหา โอ เณ ณย
กัมมวาจก ใช้สกัมมธาตุอย่างเดียว
1. ธาตุ 2 พยางค์ ลง ย ปัจจัย กับ อิ อาคม หน้า ย แล้วจึงลง เต วัตตมานา เช่น ลภิยเต, อิกฺขิยเต
หรือลง ย ปัจจัยแล้ว ถ้าไม่ลง อิ อาคม ให้แปลง ย กับที่สุดธาตุ เป็นอย่างอื่น เช่น ปจฺจเต, ลพฺภเต
หรือลง ย ปัจจัยแล้ว ถ้าไม่ลง อิ อาคม ให้แปลง ย กับที่สุดธาตุ เป็นอย่างอื่น เช่น ปจฺจเต, ลพฺภเต
2. ธาตุพยางค์เดียว ลง
ย ปัจจัย
เท่านั้น เช่น สุยเต, สุยฺยเต,
วุยเต, กียเต
เฉพาะที่ลงท้ายด้วย อา ลบ อา เสีย แล้วลง ย กับทั้ง อิ อาคม หน้า ย บ้าง เช่น ทิยเต, ทิยฺยเต
เฉพาะที่ลงท้ายด้วย อา ลบ อา เสีย แล้วลง ย กับทั้ง อิ อาคม หน้า ย บ้าง เช่น ทิยเต, ทิยฺยเต
ภาววาจก ใช้อกัมมธาตุอย่างเดียว
ลง ย ปัจจัย กับ เต วัตตมานา เช่น ภูยเต คมยเต
ลง ย ปัจจัย กับ เต วัตตมานา เช่น ภูยเต คมยเต
เหตุกัตตุวาจก ลงปัจจัย 4 ตัว คือ เณ ณย ณาเป ณาปย แล้วลบ ณ
แห่งปัจจัยเหล่านี้เสีย (เหลือเป็น เอ, อย, อาเป, อาปย)
1.
ธาตุ 2 พยางค์ขึ้นไป
สระต้นธาตุไม่มีตัวสะกด (สังโยค) ให้พฤทธิ์ (วุทธิ) เช่น มาเรติ, มารยติ, มาราเปติ,
มาราปยติ
2.
ธาตุ 2 พยางค์ขึ้นไป
สระต้นธาตุมีตัวสะกด ไม่ต้องพฤทธิ์ เช่น อิกฺเขติ, อิกฺขยติ,
อิกฺขาเปติ, อิกฺขาปยติ
3.
ธาตุพยางค์เดียว มี อิ อี เป็นที่สุด
ให้แปลงเป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย เช่น สาเยติ, สายยติ, สายาเปติ, สายาปยติ
4.
ธาตุพยางค์เดียว มี อุ อู เป็นที่สุด
ให้แปลงเป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว เช่น ภาเวติ, ภาวยติ, ภาวาเปติ, ภาวาปยติ
5.
เฉพาะหมวด ทิว สุ กี คห ธาตุ
ให้ลงปัจจัยประจำหมวดธาตุเสียก่อน แล้วจึงลง เณ ณย ณาเป ณาปย เช่น ทิพฺเพติ
ทิว-ย-เณ สิพฺเพติ สิว-ย-เณ
เหตุกัมมวาจก ลงปัจจัย 10 ตัวก่อน จึงลง ณาเป กับ ย ปัจจัย และ อิ
อาคมหน้า ย มีรูปเป็น อาปิย ดังนี้
1.
ถ้าเป็นธาตุ 8 หมวด
ลงปัจจัยประจำหมวดธาตุเสียก่อน แล้วลง อาปิย (ลบ เอ ที่ เป) เช่น ทิพฺพาปิยติ ทิว-ย-ณาเป-อิ-ย-ติ กีนาปิยติ กี-นา-ณาเป-อิ-ย-ติ
2.
ถ้าเป็นธาตุนอกแบบ ลง อ ย ปัจจัยก่อน
หรือไม่ลงก็ได้ เช่น
อุปฺปชฺชาปิยติ อุ-ปท-ย-ณาเป-อิ-ย-ติ วาทาปิยติ วท-อ-ณาเป-อิ-ย-ติ
การพฤทธิ์ (วุทธิ)
เมื่อลงปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ แล้ว ต้องพฤทธิ์ต้นธาตุ โดยมีเงื่อนไขว่า
สระต้นธาตุเป็นรัสสะล้วน ไม่มีพยัญชนะสังโยค (ตัวสะกด)ให้พฤทธิ์ได้
โดยมีวิธีพฤทธิ์ดังนี้
- สระต้นธาตุเป็น
อ
ให้แปลงเป็น อา
- สระต้นธาตุเป็น
อิ อี
ให้แปลงเป็น เอ หรือแปลง
เอ เป็น อย ต่อไปด้วย
- สระต้นธาตุเป็น
อุ อู
ให้แปลงเป็น โอ หรือแปลง
โอ เป็น อว ต่อไปด้วย
อาคม
อ อาคม สำหรับลงหน้าธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติในหมวด หิยัตตนี อัชชัตตนี กาลาติปัตติ
อิ อาคม สำหรับลงท้ายธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติในหมวด ปโรกขา อัชชัตตนี ภวิสสันติ กาลาติปัตติ
ส อาคม สำหรับลงท้ายธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติในหมวด อัชชัตตนี
ห อาคม สำหรับลงท้าย ฐา* ธาตุ (ยืน, ตั้ง) ที่มีอุปสัคอยู่หน้า (เช่น ปติ-ฐา เป็น ปติฏฺฐา ลง ห อาคม เป็น ปติฏฺฐห)
นิคคหิตอาคม สำหรับลงหน้าพยัญชนะที่สุดธาตุ ในหมวด รุธ ธาตุ
อ อาคม สำหรับลงหน้าธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติในหมวด หิยัตตนี อัชชัตตนี กาลาติปัตติ
อิ อาคม สำหรับลงท้ายธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติในหมวด ปโรกขา อัชชัตตนี ภวิสสันติ กาลาติปัตติ
ส อาคม สำหรับลงท้ายธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติในหมวด อัชชัตตนี
ห อาคม สำหรับลงท้าย ฐา* ธาตุ (ยืน, ตั้ง) ที่มีอุปสัคอยู่หน้า (เช่น ปติ-ฐา เป็น ปติฏฺฐา ลง ห อาคม เป็น ปติฏฺฐห)
นิคคหิตอาคม สำหรับลงหน้าพยัญชนะที่สุดธาตุ ในหมวด รุธ ธาตุ
* ถ้าไม่ลงอุปสัค แปลง
ฐา เป็น ติฏฺฐ ได้ (เทฺวภาวะ)
ปัจจัยสำหรับประกอบกับธาตุ
3 ตัว คือ ข ฉ ส ถ้าลงหลังธาตุ ภุช ฆส หร สุ
ปา แปลออกสำเนียงว่า “ปรารถนา”
เช่น
- พุภุกฺขติ
(ภุช-ข-ติ) ย่อมปรารถนาจะกิน ภุช ‘กิน’
- ชิคจฺฉติ
(ฆส-ฉ-ติ) ย่อมปรารถนาจะกิน ฆส ‘กิน’
- ชิคึสติ
(หร-ส-ติ) ย่อมปรารถนาจะนำไป หร ‘นำไป’
- สุสฺสูสติ
(สุ-ส-ติ) ย่อมปรารถนาจะฟัง สุ ‘ฟัง’
- ปิวาสติ
(ปา-ส-ติ) ย่อมปรารถนาจะดื่ม ปา ‘ดื่ม’
ถ้าลงหลังธาตุนอกนี้
แปลตามธรรมดา เช่น
- ติกิจฺฉติ
(กิต-ฉ-ติ) ย่อมเยียวยา กิต ‘รักษา เยียวยา’
ยังมีปัจจัยอีกพวกหนึ่ง
ใช้ลงท้ายนามศัพท์
(มิได้ลงท้ายธาตุ) ให้เป็นกิริยาศัพท์ มี 2 ตัว คือ อาย อิย
ถ้าลงหลังคุณนาม
แปลว่า ประพฤติ เช่น
- จิรายติ
ประพฤติช้าอยู่ จิร ‘ช้า นาน’
ถ้าลงหลังนามนาม
แปลว่า ประพฤติเพียงดัง
เป็นต้น เช่น
- ปุตฺติยติ
ย่อมประพฤติเพียงดังบุตร
ปุตฺต ‘บุตร’
- ปพฺพตายติ
ย่อมประพฤติเพียงดังภูเขา
ปพฺพต ‘ภูเขา’
- ธูมายติ
ย่อมประพฤติเพียงดังควัน
ธูม ‘ควัน’
- นิทฺทายติ
ย่อมประพฤติหลับ
นิทฺทา ‘ความหลับ’
วาจก
วาจก แปลว่า
ผู้บอก กล่าว แสดง (วจ ‘บอก กล่าว’)
วาจก หมายถึง กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัย ซึ่งแสดงให้ทราบว่า ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นประธานในประโยค
วาจก หมายถึง กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัย ซึ่งแสดงให้ทราบว่า ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นประธานในประโยค
วาจกมี 5 คือ
1.
กัตตุวาจก กิริยาศัพท์ที่แสดงว่า
ผู้ทำ เป็นประธาน
2.
กัมมวาจก กิริยาศัพท์ที่แสดงว่า
ผู้ถูกกระทำ เป็นประธาน
3.
เหตุกัตตุวาจก กิริยาศัพท์ที่แสดงว่า
ผู้ใช้ให้ทำ เป็นประธาน
4.
เหตุกัมมวาจก
o
ในกิริยาสกัมมธาตุ หมายถึง
กิริยาศัพท์ที่แสดงว่า สิ่งที่เขาใช้ให้บุคคลทำ
หรือ ผู้ที่ถูกใช้ให้ทำ
เป็นประธาน
o
ในกิริยาอกัมมธาตุ หมายถึง
กิริยาศัพท์ที่แสดงว่า ผู้ที่ถูกใช้ให้ทำ
เป็นประธาน
5.
ภาววาจก กิริยาศัพท์ที่บอกเพียงความมีความเป็น
ไม่มีประธาน
ประธาน หมายถึง
ศัพท์นามที่ถูกยกให้เป็นใหญ่ในประโยค
ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ
กัตตา หมายถึง ผู้ทำกิริยานั้นๆ มีทั้งกัตตาที่เป็นประธาน และกัตตาที่ไม่ได้เป็นประธาน ในประโยค
กัตตา หมายถึง ผู้ทำกิริยานั้นๆ มีทั้งกัตตาที่เป็นประธาน และกัตตาที่ไม่ได้เป็นประธาน ในประโยค
1.
สยกัตตา (ปฐมา)
หมายถึง ผู้ทำเอง
เป็นประธาน (สยํ-กร)
2.
อนภิหิตกัตตา (ตติยา)
หมายถึง ผู้ทำ ที่ไม่ได้ถูกกล่าวยกให้เป็นประธาน (น-อภิ-ธา ‘กล่าว’ แปลง ธ เป็น ห)
3.
เหตุกัตตา (ปฐมา)
หมายถึง ผู้ใช้ให้ผู้อื่นทำ
หรือ ผู้ทำ
โดยใช้ให้ผู้อื่นทำ หรือ ผู้ทำ
ที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นทำ เป็นประธาน
กรรม หมายถึง
ผู้ถูกกระทำ มีทั้งกรรมที่เป็นประธาน และกรรมที่ไม่ได้เป็นประธาน
1.
อวุตตกัมม (ทุติยา)
หมายถึง ผู้ถูกกระทำ
ที่ไม่ได้ถูกกล่าวยกให้เป็นประธาน
2.
วุตตกัมม (ปฐมา)
(น-วจ ‘กล่าว’)
ในประโยคกัมมวาจก
หมายถึง ผู้ถูกกระทำ
ที่ถูกกล่าวยกให้เป็นประธาน
ในประโยคเหตุกัมมวาจก กิริยาสกัมมธาตุ หมายถึง สิ่งที่เขาใช้ให้บุคคลทำ หรือ ผู้ที่ถูกใช้ให้ทำ เป็นประธาน
ในประโยคเหตุกัมมวาจก กิริยาอกัมมธาตุ หมายถึง ผู้ที่ถูกใช้ให้ทำ เป็นประธาน
ในประโยคเหตุกัมมวาจก กิริยาสกัมมธาตุ หมายถึง สิ่งที่เขาใช้ให้บุคคลทำ หรือ ผู้ที่ถูกใช้ให้ทำ เป็นประธาน
ในประโยคเหตุกัมมวาจก กิริยาอกัมมธาตุ หมายถึง ผู้ที่ถูกใช้ให้ทำ เป็นประธาน
3. การิตกัมม (ปฐมา)
หมายถึง ผู้ที่ถูกใช้ให้ทำ (เป็นตติยาวิภัตติบ้างก็ได้)
วาจกใดใช้ธาตุประเภทไหนได้
• กัตตุวาจก
เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก ใช้ได้ทั้ง สกัมมธาตุ และ อกัมมธาตุ
• กัมมวาจก ใช้ได้เฉพาะ สกัมมธาตุ อย่างเดียว
• ภาววาจก ใช้ได้เฉพาะ อกัมมธาตุ อย่างเดียว
• กัมมวาจก ใช้ได้เฉพาะ สกัมมธาตุ อย่างเดียว
• ภาววาจก ใช้ได้เฉพาะ อกัมมธาตุ อย่างเดียว
ธาตุประเภทไหนใช้เป็นวาจกอะไรบ้าง
• สกัมมธาตุเป็นได้ 4 วาจก คือ กัตตุวาจก กัมมวาจก เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก (เว้นภาววาจก)
• อกัมมธาตุเป็นได้ 4 วาจก คือ กัตตุวาจก เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก ภาววาจก (เว้นกัมมวาจก)
• สกัมมธาตุเป็นได้ 4 วาจก คือ กัตตุวาจก กัมมวาจก เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก (เว้นภาววาจก)
• อกัมมธาตุเป็นได้ 4 วาจก คือ กัตตุวาจก เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก ภาววาจก (เว้นกัมมวาจก)
* อีกนัยหนึ่ง วาจก หมายถึง
กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัยซึ่ง กล่าวบทที่เป็นประธานของประโยค
ว่าสัมพันธ์กับกิริยาอย่างไร เช่น
กัตตุวาจก ประธานเป็นผู้ทำกิริยา, เหตุกัตตุวาจก ประธานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นทำกิริยา กัมมวาจก ประธานเป็นกรรมของกิริยา,
ภาววาจก ประธานคือ ความมีความเป็น ได้แก่ตัวกิริยาเอง, เหตุกัมมวาจก ประธานเป็นกรรมของกิริยา ที่มีผู้อื่นใช้ให้ทำ
กัตตุวาจก ประธานเป็นผู้ทำกิริยา, เหตุกัตตุวาจก ประธานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นทำกิริยา กัมมวาจก ประธานเป็นกรรมของกิริยา,
ภาววาจก ประธานคือ ความมีความเป็น ได้แก่ตัวกิริยาเอง, เหตุกัมมวาจก ประธานเป็นกรรมของกิริยา ที่มีผู้อื่นใช้ให้ทำ
ธาตุ
|
ปัจจัย
|
กิริยา
|
|
คำแปล
|
ชุต
|
อล
|
โชตลติ
|
= โชตติ โชเตติ
|
รุ่งเรือง
|
ตร
|
อาร
|
สนฺตารติ
|
= สนฺตรติ
|
ข้ามด้วยดี
|
กม
|
อาล
|
อุปกฺกมาลติ
|
= อุปกฺกมติ
|
ก้าวเข้าไป
|
รุธ
|
อิ
อี
|
รุนฺธิติ
รุนฺธีติ
|
= รุนฺเธติ รุนฺธยติ
|
ปิด, กั้น
|
อป
|
อุณา
|
ปาปุณาติ
|
|
ถึง, บรรลุ
|
คห
(แปลงเป็น เฆ)
|
ปฺป
|
เฆปฺปติ
|
= คณฺหาติ
|
ถือเอา
|
กร
|
ยิร
|
กยิรา
|
= กเรยฺย
|
พึงทำ
|
วตฺตมานา
|
ป.
ม. อุ. |
อตฺถิ
อสิ อมฺหิ อสฺมิ |
อตฺถิ
สนฺติ
อตฺถ อมฺห อสฺม |
|
ปญฺจมี
|
ป.
ม. อุ. |
อตฺถุ
อาหิ อมฺหิ |
สนฺตุ
อตฺถ อมฺห |
|
สตฺตมี
|
ป.
ม. อุ. |
อสฺส
อสฺส อสฺสํ |
อสฺสุ
อสฺสุํ
อสฺสถ อสฺสาม |
|
|
ป.
ม. อุ. |
สิยา
- สิยํ |
สิยุํ
สิยํสุ
- - |
|
อชฺชตฺตนี
|
ป.
ม. อุ. |
อาสิ อาสี
อาสิ อาสี อาสึ |
อาสุํ
อาสิตฺถ อาสิมฺหา |
|
หิยตฺตนี
|
ป.
ม. อุ. |
-
- - |
-
อาสิตฺถ - |
|
1.
อตฺถิ นตฺถิ (น-อตฺถิ) บางมติถือว่าเป็นนิบาตก็มี
เพราะใช้ได้ทั้งเอกวจนะและพหุวจนะ โดยไม่เปลี่ยนรูป
2.
กิริยาอาขยาต อสฺ ธาตุ เหล่านี้
ที่พยัญชนะต้นเป็นสระ นิยมสนธิกับศัพท์อื่นเสมอ เช่น อาคโตมฺหิ (อาคโต+อมฺหิ)
3.
ศัพท์ว่า สติ ที่ใช้ในประโยคแทรก (ลักขณะ)
เป็นกิริยากิตก์ อส ธาตุ อนฺต ปัจจัย สัตตมีวิภัตติ แจกอย่างภควนฺตุ แปลว่า มีอยู่
(‘สติ’ ไม่มีในรูปที่เป็นกิริยาอาขยาต)
ตัวอย่าง
หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา
สุกฺกธมฺมสมาหิตา
สนฺโต สปฺปุริสา โลเก 'เทวธมฺมาติ วุจฺจเร.
สนฺโต สปฺปุริสา โลเก 'เทวธมฺมาติ วุจฺจเร.
อหึสกา เย มุนโย
นิจฺจํ กาเยน สํวุตา
เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร.
เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร.
สมฺพหุลา น ชานนฺติ
สชฺชุกํ น จ คจฺฉเร.
สาธุครับ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบ